ในโลกของเกมออนไลน์ แท้ที่จริงแล้วมันก็คือโลกอีกใบที่มีคนมากหน้าหลายตาอยู่ด้วย แน่นอนว่าเมื่อมีคนร้อยพ่อพันแม่ ก็ย่อมมีคนที่ทั้งดีและไม่ดีอยู่ในสังคม โดยเฉพาะกับเกมที่มีการปะทะกันซึ่งๆ หน้า อย่างเช่นเกมแนว FPS และ MOBA สิ่งที่แถมมาด้วยกับผู้คนเหล่านี้คือ “การถูกคุกคาม” ในรูปแบบต่างๆ เช่นผู้เล่นที่ถูกเรียกว่า “Toxic” ที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้
Toxic Player เป็นคำนิยามให้กับเหล่าผู้เล่นที่เป็นพิษภัยต่อสังคมเกม โดยเฉพาะในหมู่เกมเมอร์ที่ไม่ว่าจะไปเล่นเกมไหน ๆ ต่างก็ต้องเจอกับบรรดาเหล่าผู้เล่นประเภทนี้ จนทำให้ในบางครั้งเกมไม่สนุกหรือเลิกเล่นไปเลยเพราะทนกับสังคมหรือผู้เล่นประเภทนี้ไม่ไหว ซึ่งเกมเมอร์กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีมากที่สุดในเกมต่าง ๆ (อ่านต่อได้ที่นี่)
ล่าสุด จากงานวิจัยของ ADL (Anti-Defamation League) สหรัฐอเมริการะบุว่า 74% ของผู้เล่นเกมออนไลน์นั้นเคยถูกคุกคามในรูปแบบใดแบบหนึ่งมาก่อนเช่นการถูกติดตาม (Stalker), การนำข้อมูลมาเปิดเผยในที่สาธารณะ (Doxed) และการถูกคุกความโดยถ้อยคำรุนแรงต่างๆ
ซึ่งผลการศึกษายังเจาะลึกไปอีกว่า เกมที่มีผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากปัญหาเหล่านี้ก็คือ Dota 2 โดยระบุว่า มากกว่า 79% ของผู้เล่น Dota 2 นั้นเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้มาก่อน ทั้งการถูกด่าทอ การเหยียดหยาม และการประสบกับผู้เล่นที่มีพฤติกรรมไม่ดีอื่นๆ (เช่นการโยนเกม/ทิ้งเกม) โดยช่องทางที่พบมากที่สุดคือ in-game voice chat (การสื่อสารด้วยเสียงในเกม) มากถึง 42%
Toxic Player เป็นคำนิยามให้กับเหล่าผู้เล่นที่เป็นพิษภัยต่อสังคมเกม โดยเฉพาะในหมู่เกมเมอร์ที่ไม่ว่าจะไปเล่นเกมไหน ๆ ต่างก็ต้องเจอกับบรรดาเหล่าผู้เล่นประเภทนี้ จนทำให้ในบางครั้งเกมไม่สนุกหรือเลิกเล่นไปเลยเพราะทนกับสังคมหรือผู้เล่นประเภทนี้ไม่ไหว ซึ่งเกมเมอร์กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีมากที่สุดในเกมต่าง ๆ (อ่านต่อได้ที่นี่)
ล่าสุด จากงานวิจัยของ ADL (Anti-Defamation League) สหรัฐอเมริการะบุว่า 74% ของผู้เล่นเกมออนไลน์นั้นเคยถูกคุกคามในรูปแบบใดแบบหนึ่งมาก่อนเช่นการถูกติดตาม (Stalker), การนำข้อมูลมาเปิดเผยในที่สาธารณะ (Doxed) และการถูกคุกความโดยถ้อยคำรุนแรงต่างๆ
ซึ่งผลการศึกษายังเจาะลึกไปอีกว่า เกมที่มีผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากปัญหาเหล่านี้ก็คือ Dota 2 โดยระบุว่า มากกว่า 79% ของผู้เล่น Dota 2 นั้นเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้มาก่อน ทั้งการถูกด่าทอ การเหยียดหยาม และการประสบกับผู้เล่นที่มีพฤติกรรมไม่ดีอื่นๆ (เช่นการโยนเกม/ทิ้งเกม) โดยช่องทางที่พบมากที่สุดคือ in-game voice chat (การสื่อสารด้วยเสียงในเกม) มากถึง 42%
ผู้เล่น Dota 2 จำนวนกว่า 79% เคยถูกคุกคามในรูปแบบใดแบบหนึ่งมาก่อน
โดยการศึกษานี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลจากเกมเมอร์จาก 15 เกม และมุ่งเน้นไปที่การศึกษาเรื่องการถูกคุกความในเกมเป็นหลัก และแปรผลการศึกษาออกมาในหลายหัวข้อ ทั้งการถูกคุกคามโดยรวม, ช่องทางที่ถูกคุกคาม, อัตราและรูปแบบที่ถูกคุกคาม รวมถึงวิธีที่ผู้เล่นเหล่านั้นใช้รับมือกับสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาด้วย สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่
โดยการศึกษานี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลจากเกมเมอร์จาก 15 เกม และมุ่งเน้นไปที่การศึกษาเรื่องการถูกคุกความในเกมเป็นหลัก และแปรผลการศึกษาออกมาในหลายหัวข้อ ทั้งการถูกคุกคามโดยรวม, ช่องทางที่ถูกคุกคาม, อัตราและรูปแบบที่ถูกคุกคาม รวมถึงวิธีที่ผู้เล่นเหล่านั้นใช้รับมือกับสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาด้วย สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่
ADL (Anti-Defamation League) สันนิบาตต่อต้านการหมิ่นประมาท ผู้เริ่มต้นศึกษาในเรื่องนี้
แต่สำหรับ Dota 2 นั้น ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลกนักที่จะมีจำนวนผู้เล่นในกลุ่ม Toxic อยู่มากที่สุด ด้วยจำนวนผู้เล่นมากมายทั่วโลก และรูปแบบของเกมที่เอื้อต่อการให้ผู้คนมีพฤติกรรมเหล่านี้ หรือแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น จึงทำให้ Dota 2 ได้อันดับ 1 ในการศึกษาครั้งนี้ไป โดยจะเห็นว่า แม้แต่เกมอย่าง Minecraft และ Hearthstone ผู้เล่นกว่าครึ่งก็เคยประสบปัญหาเหล่านี้มาแล้วเช่นกัน
ดังนั้น, ในเมื่อ Toxic เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากหรือทำไม่ได้เลยก็ตาม เราจึงต้องหาวิธีรับมือกับเราสิ่งเหล่านี้จึงจะดีที่สุด เพราะปัญหาหลาย ๆ อย่าง ก็แก้/ป้องกันได้ที่ตัวเราเอง ซึ่ง gamingdose เราก็ได้รวบรวมไว้ให้แล้ว ตาม Link ด้านล่างนี้
แต่สำหรับ Dota 2 นั้น ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลกนักที่จะมีจำนวนผู้เล่นในกลุ่ม Toxic อยู่มากที่สุด ด้วยจำนวนผู้เล่นมากมายทั่วโลก และรูปแบบของเกมที่เอื้อต่อการให้ผู้คนมีพฤติกรรมเหล่านี้ หรือแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น จึงทำให้ Dota 2 ได้อันดับ 1 ในการศึกษาครั้งนี้ไป โดยจะเห็นว่า แม้แต่เกมอย่าง Minecraft และ Hearthstone ผู้เล่นกว่าครึ่งก็เคยประสบปัญหาเหล่านี้มาแล้วเช่นกัน
ดังนั้น, ในเมื่อ Toxic เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากหรือทำไม่ได้เลยก็ตาม เราจึงต้องหาวิธีรับมือกับเราสิ่งเหล่านี้จึงจะดีที่สุด เพราะปัญหาหลาย ๆ อย่าง ก็แก้/ป้องกันได้ที่ตัวเราเอง ซึ่ง gamingdose เราก็ได้รวบรวมไว้ให้แล้ว ตาม Link ด้านล่างนี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น